ผมไปเรียนเต้าเต๋อจิงมา ได้ข้อคิดหลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ เมื่อผมเจออะไรขัดใจ ผมถอยมาดูไกล ๆ บ่อยขึ้น ส่งผลทำให้ปล่อยวางง่ายขึ้นด้วย ด้านล่างจะเป็นนิทานเปรียบเปรยที่ผมอยากแบ่งปันเท่าที่จำได้ ลองจินตนาการว่าเรากำลังมองโซดาเย็น ๆ ในแก้วใสใบหนึ่งที่มีฟองมากมาย ลองจินตนาการต่อว่าเราสามารถได้ยินเสียงฟองอากาศเหล่านี้ได้ แล้วเราได้ยินฟองหนึ่งตะโกนบอกฟองที่อยู่ด้านล่างตัวเองว่า ชั้นจะขึ้นไปข้างบนให้เร็วกว่าเธอ เธอตามชั้นไม่ทันหรอก ชั้นเกิดมาเพียบพร้อมกว่าเธอมาก ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงฟองด้านล่างบ่นว่า ชีวิตชั้นสิ้นหวังเหลือเกิน เกิดมาไม่มีต้นทุนอะไรเลย แล้วชั้นก็ไม่มีวันประสบความสำเร็จก่อนฟองด้านบน แล้วไม่กี่วินาทีต่อมา ฟองทั้งสองก็ขึ้นไปถึงผิวน้ำแล้วก็แตกหายไป…

จะฝืนไปทำไม
จะฝืนไปทำไม

ผมมีโอกาสได้ไปเรียนหลักปรัชญาเต้าเต๋อจิงของเต๋า (Tao Te Ching) กับอาจารย์กิล (Gil Alon) ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจากอิสราเอลมา ซึ่งก็ได้อะไร ๆ มาขบคิดหลายอย่าง เลยอยากจะเอาความเข้าใจในตอนเพิ่งเรียนเสร็จใหม่ ๆ นี้มาเก็บไว้ในบทความเพื่อจะได้มาอ่านทวนเองและแบ่งปันเผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นครับ ความเชื่อที่แตกต่าง อาจารย์กิลเล่าว่า สมัยนั้นมีหลักปรัชญาสองสายที่อยู่กันคนละขั้ว คือหลักของขงจื้อ (Kong Qiu หรือที่ส่วนใหญ่เรียกว่า Confucuis ในภาษาอังกฤษ) กับของเล่าจื้อ (Lau Tzu ซึ่งเป็นคำใช้เรียกอาจารย์ด้วยความเคารพ) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นหลักปรัชญาเต๋า…

ปรัชญาเต๋า
ปรัชญาเต๋า

ผมอ่าน The DevOps Handbook มาถึงบทที่ 19 เค้าพูดถึง Just culture ของ Dr. Sidney Dekker ซึ่งประทับใจผมมาก ผมเลยอยากเอามาแบ่งปันครับ จากประสบการณ์ที่ผมมีโอกาสได้โค้ชทีมในหลาย ๆ องค์กร สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวบอกผมว่างานที่ทำจะมีปัญหาบน production มากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ telemetry เทพ ๆ หรือ micro services architecture หรือเทคโนโลยี stack ที่พวกเค้าเลือกใช้ แต่เป็นแนวความคิดของผู้บริหารของทีมพัฒนาเนี่ยแหละที่เป็นตัวบอกใบ้ที่ชัดที่สุด เพราะผมพบว่า ทีม 2 ทีมที่ใช้กันคนละเทคโนโลยี, มี architecture ที่แตกต่างกัน แต่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้บริหารคนเดียวกัน ก็จะมีโอกาสเกิดปัญหาบน production พอ ๆ กัน…

ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญากับความกลัวใน production incident
ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญากับความกลัวใน production incident