ความรู้สึกที่เจือปน

Feeling vs. feeling mixed with thoughts

Photo by Dan-Cristian Pădureț on Unsplash

บทความนี้เป็นหนึ่งในซีรี่ย์ของ NVC key differentiations สำหรับคนที่ไม่รู้จัก key differentiations มาก่อน เล่าคร่าว ๆ คือของ 2 สิ่งที่เราต้องแยกออกจากกันให้ได้ เพราะด้านซ้ายจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสาร ส่วนด้านขวาจะทำร้ายความสัมพันธ์

ความรู้สึก

การสื่อสารความรู้สึกเป็นการใช้คำที่บ่งบอกสภาวะภายในใจโดยไม่มีส่วนอ้างอิงถึงโลกภายนอก เช่น บอกความรู้สึกทางกาย เช่น หิว หนาว ร้อน

ที่ยากกว่าจะเป็นความรู้สึกทางใจซึ่งเป็นนามธรรมกว่า เช่น เหนื่อย เหงา ท้อแท้

ความรู้สึกเจือปนความคิด

ความรู้สึกปนความคิด คือการสื่อสารความรู้สึกภายใน แต่มาการอ้างอิงถึงโลกภายนอกด้วย บ่อยครั้งที่ผมทำมัน เพราะหวังว่าตัวอย่างจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจผมได้ง่ายขึ้น เช่น รู้สึกถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว รู้สึกไม่มีใครช่วย

ปัญหาของความรู้สึกเจือปนความคิดคือ มีโอกาสที่ผู้ฟังจะเสียสมาธิไปจากการทำความเข้าใจเรา เพราะคำตัดสินที่แฝงไปกับความคิด เช่น “รู้สึกไม่มีใครช่วย” อาจจะถูกตีความว่ากำลังตำหนิที่ผู้ฟังไม่ช่วยก็ได้ นอกจากจะทำให้ผู้ฟังสับสน เสียความมั่นใจ อาจจะกระตุ้นให้อยากอธิบายว่าเพราะอะไรถึงไม่ได้ช่วย หรืออาจจะโกรธที่ถูกตำหนิ แล้วหาเหตุผลว่าทำไมผมจึงสมควรที่จะไม่ได้รับความช่วยเหลือก็ได้

ผลลัพธ์ที่ตามมามักจะหลายหลาก แต่ไปในทิศทางเดียวกันคือแย่งสมาธิของผู้ฟังไปจากการรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในประสบการณ์ของผม ซึ่งขัดกับเจตนาที่ยกตัวอย่าง เพื่อเพิ่มโอกาสที่ผู้ฟังจะได้ยิน

เพราะแบบนี้ การเรียนรู้ที่จะสื่อสารความรู้สึกโดยไม่มีความคิดเจือปน เช่น รู้สึกโดดเดี่ยว จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ยินเรามากกว่า

บทควาทที่เกี่ยวข้อง

--

--